วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

เทียวเชียงราย

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง
     
อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช
อยู่ที่ห้าแยกพ่อขุ่น พ่อขุ่นเม็งรายเป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งราชวงค์ลัวะจังคราช เป็นโอรสของพญาลาวเม็ง และพระนางเทพคำขยาย หรือพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน พุทธศักราช 1782 เสด็จสวรรคตที่เมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ.1854 พ่อขุนเม็งรายได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นบนดอยทอง จากรากฐานเดิมที่เคยเป็นเมืองมาก่อน เมื่อ พ.ศ.1805ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงค์เม็งราย และรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าเป็นอาณาจักรล้านนาไทยจนเจริญรุ่งเรืองถึง ปัจจุบัน
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง
ตั้งอยู่หน้าวัดงำเมือง บนดอยงำเมือง กู่นี้เป็นอนุสาวรีย์สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุอัฐิของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ตามประวัติกล่าวว่าพระเจ้าไชยสงคราม ราชโอรสพระเจ้าเม็งรายเมื่อได้มอบราชสมบัติให้พระเจ้าแสนภูราชโอรสขึ้นครอง นครเชียงใหม่แล้ว พระองค์ได้นำอัฐิพระราชบิดามาประทับอยู่ที่เมืองเชียงราย และได้โปรดเกล้าฯ สร้างกู่บรรจุอัฐิของพระราชบิดาไว้ ณ ดอยงำเมืองแห่งนี้
วัดพระสิงห์
ถนนท่าหลวง ใกล้ศาลากลางจังหวัด เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์องค์ที่ประดิษฐาน ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน ตามประวัติเล่าว่า เจ้ามหาพรหมพระอนุชาของพระเจ้ากือนา กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองกำแพงเพชร พระเจ้ากือนาได้โปรดฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ เมืองเชียงใหม่ ต่อมาพระเจ้ามหาพรหมทูลขอยืมพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงราย เพื่อหล่อจำลอง แต่เมื่อสิ้นบุญพระเจ้ากือนาและพระเจ้าแสนเมืองราชนัดดาของพระองค์ได้เสด็จ ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ เจ้ามหาพรหมคิดจะชิงราชสมบัติ จึงยกกองทัพจากพรหมมาถึงเชียงราย และครั้งนี้เองที่ทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์คืนกลับไปประดิษฐานอยู่ที่วัดพระ สิงห์เชียงใหม่สืบมา วัดพระสิงห์แห่งนี้ยังมีรอยพระพุทธบาทจำลองบนแผ่นสิลาสันนิษฐานว่าสร้างใน สมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช นอกจากนั้นบานประตูยังออกแบบโดย คุณถวัลย์ ดัชนี บอกเรื่องราวเกี่ยวกับ ดิน น้ำ ลม ไฟ แกะสลักโดยฝีมือช่างช่าวเชียงราย โทร. 0 5374 5038
วัดพระแก้ว 
วัดพระแก้วเดิมเป็นวัดโบราณมีชื่อเรียกมาแต่เดิมว่า รุกขวนาราม แปลว่า วัดป่าไม้เยียะ หรือ ไม้ญะ หมายถึงป่าไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง ที่ด้านหลังพระอุโบสถมีพระเจดีย์เก่าองค์หนึ่ง ราวพุทธศักราช 1977 เกิดอสนีบาตตกลงมาที่พระเจดีย์พังทลายลง ได้พบพระพุทธรูปปูนปั้นอยู่ภายในจึงนำไปไว้หน้าพระประธานในพระวิหารอยู่มา วันหนึ่งโยมวัดเข้าไปทำความสะอาด ผิวปูนกะเทาะออกเห็นเนื้อแก้วสีเขียวอยู่ภายในจึงนำความแจ้งแก่พระสงฆ์
เจ้า อาวาสจึงให้กะเทาะปูนออกจนหมด พบว่าเป็นพระพุทธรูปล้ำค่า จึงนำความแจ้งแก่มหาราชเมืองเชียงใหม่พระเจ้าสามฝั่งแกน ผู้ครองนครเชียงใหม่ โปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ เมืองเชียงใหม่ แต่เมื่ออธิษฐานเสี่ยงทายได้ชื่อเมืองนครลำปางถึง 3 ครั้ง พระแก้วมรกตจึงได้รับการอัญเชิญไป นครลำปาง จนถึงพุทธศักราช 2011 จึงอัญเชิญไปนครเชียงใหม่ก่อนจะไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ และกลับมาประดิษฐาน ณ กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ เจดีย์ที่พบพระแก้วและวัดพระแก้วที่เชียงรายยังอยู่สืบมาจนทุกวันนี้
วัดพระธาตุดอยทอง
วัดพระธาตุดอยทอง ตั้งอยู่ถนนอาจอำนวย หลังศาลากลางจังหวัด บนดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกก ในปี พ.ศ.1805 พญาเม็งรายได้ทรงสร้างเมืองเชียงราย โดยก่อปราการโอบดอย ตามตำนานเล่าว่าเป็นพระธาตุเก่าแก่ที่มีก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะทรงสร้าง เมืองเชียงราย โดยเล่าว่าพระยาเรือนแก้วผู้ครองนครไชยนารายณ์ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1483 สันนิษฐานว่า เมื่อพ่อขุนเม็งรายทรงพบชัยภูมิที่สร้างเมืองเชียงรายจากดอยจอมทองนั้น คงจะมีการบูรณะองค์พระธาตุใหม่พร้อมๆ กับการสร้างเมืองเชียงราย นอกจากนั้นตรงข้ามพระธาตุดอยทอง เป็นที่ตั้งของเสาสะดือเมือง 108 หลัก ซึ่งสร้างตามคติโบราณล้านนา คือจะใหญ่เท่าห้ากำมือ และสูงเท่าความสูงของพระเจ้าแผ่นดิน เสาสะดือเมืองเรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายวง แทนสมมติจักรวาล อันมีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง ล้อมรอบด้วยน้ำห้าร่องแทนปัญจมหานที
ขั้น บนสุดเปรียบได้กับนิพพาน เสาสะดือเมืองชาวเชียงรายได้ร่วมใจสร้างขึ้นเมื่องปี พ.ศ.1531 เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญาเม็งราย และได้มีการบูรณะในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบห้ารอบของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว
วัดร่องขุ่น
วัดร่องขุ่น อยู่ที่บ้านร่องขุ่นกม.ที่ 817-818 ทางขวามือ ก่อนจะถึงตัวเมือง ๑๒ กม. โดยมีอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรชั้นแนวหน้าของประเทศไทย เป็นผู้ออกแบบทั้งหมด โดยได้ทรัพย์สินส่วนตัว ของตัวอาจารย์เฉลิมชัยเอง บวกกับพื้นที่บริจาคประมาณ 7 ไร่เศษ ของคุณวันชัย วิชญชาคร และเงินบริจาค ของผู้ที่มีจิตศรัทธาลักษณะเด่นของวัดคือพระอุโบสถที่ประดับตกแต่งด้วยสีขาว เป็นพื้น ประดับด้วยกระจกบนปูนปั้นเป็น
ลาย ไทยโดยเฉพาะเหนืออุโบสถที่ประดับด้วยสัตว์ในเทพนิยาย เป็นรูปกึ่งช้างกึ่งวิหคเชิดงวงชูงา ดูงดงามแปลกตาน่าสนใจมาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถก็เป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ
ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมือง เชียงรายประมาณ 8 กิโลเมตรบนเส้นทางเชียงราย – แม่จัน เข้าไปทางด้านหลังมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ภายในสวนมีทัศน์ภาพสวยบรรยากาศร่มรื่น มีหนองบัวกว้างถึง 233 ไร่ เป็นสถานที่น่าพักผ่อนหย่อนใจ เพราะน้ำในหนองบัวใสเย็นและเต็มเปี่ยมตลอดปี บนพื้นที่รอบหนองบัวเป็นที่ต้องของพลับพลา ศาลาสำหรับนั่งผ่อนและมีสวนปาล์ม สวนไผ่อยู่บนที่ลาดเนินเขาติดกับสวนสมเด็จฯ ยังเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกของมหาวิทยา ลัยราชภัฎเชียงราย ซึ่งให้บริการดูแลรักษาสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านล้านนา โทร. 0 5370 3388
ศูนย์ภาษาวัฒนธรรมจีนสิรินธร
ภายในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนและมหาวิทยาลัยแม่ ฟ้าหลวง เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 100 ปี แห่งวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็นเป็นเครื่องหมายแห่ง มิตรภาพระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ศูนย์ฯ เป็นศูนย์กลางการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยและในภูมิภาครวมทั้ง เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม
ระหว่างประเทศ จีน – ไทย ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบจีนแท้มีสวนน้ำ ตรง กลางแบบซูโจว ออกแบบโดยสถาปนิกชาวจีนจากมณฑลเสฉวนวัสดุกระเบื้องหลังคา รูปปั้นประดับหลังคา สิงโตแกะสลักด้วยหินอ่อนเฝ้าหน้าศูนย์ นำมาจากประเทศจีนทั้งสิ้น ภายใจอาคารจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยือนประเทศจีนและมีห้องสมุดให้ค้นคว้า อัตราค่าเข้าชม 10 บาท โทร. 0 5391 7093,0 5391 7095 www.mfu.ac.th
น้ำตกขุนกรณ์
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 34 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีธารน้ำที่ใสสะอาดไหลตลอดปีโดยที่ปราศจากตะกอนหินปูน มีความสูงกว่า 70 เมตร เส้นทางเดินขึ้นสู่น้ำตกขุนกรณ์มีโขดหินและแก่งต่างๆ ซึ่งมีความสวยงามรายรอบไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด สภาพป่าโดยรอบมีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะสำหรับการพักหย่อนใจ
กิจกรรม - เที่ยวน้ำตก
ล่องเรือแม่น้ำกก
ล่องแก่งแม่กก ท่าตอน-เชียงราย
ท่าตอนเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำกก เหนือขึ้นไปจากอำเภอฝาง 24 กิโลเมตร จากเชียงใหม่มีรถประจำทางออกจากประตูช้างเผือกไปลงที่ฝางใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง แล้วจะมีรถสองแถววิ่งประจำระหว่างฝางกับท่าตอน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที มีเรือหางยาวบริการถึงเชียงราย ออกจากท่าตอนเวลา 12.30 น. ถึงเชียงราย
 
16.30 น. และจากเชียงรายเวลา 10.30 น. ถึงท่าตอน 15.30 น. ระยะทาง 80 กิโลเมตร ค่าโดยสารคนละ 200 บาท ถ้าหากต้องการเช่าเรือเหมาลำ ลำละ 1,600 บาท สามารถนั่งได้ 8 คน สำหรับผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานชมรมเรือบ้านท่าตอน โทร. 0 5345 9427
พิพิธภัณฑ์อูบคำ
พิพิธภัณฑ์อูบคำ ตั้งอยู่เลขที่ 81/1 ถนนหน้าค่าย ตำบลรอบเวียง ติดกับตลาดสดเด่นห้า เป็นศูนย์อนุรักษ์มรดกล้ำค่าของอาณาจักรล้านนาโบราณ ประกอบด้วยเครื่องใช้ในราชสำนักล้านนา เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าแพร่ เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าเชียงใหม่ ผ้าโบราณอายุ 120 ปี เป็นซิ่นไหมคำจากราชสำนักมัณฑเลย์ และที่สำคัญไม่ควรพลาดชมคือ บัลลังก์กษัตริย์เป็นทองอร่าม อายุกว่า 200 ปี แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต โดยมีอาจารย์จุลศักดิ์ สุริยไชย เป็นผู้รวบรวม ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น.
ค่า เช้าชมผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท พิพิธภัณฑ์นี้เป็นความตั้งใจของผู้รวบรวมที่จะเก็บของมีค่าสมัยล้านนาที่ไม่ ได้อยู่ในแผ่นดินไทยให้กลับมาอยู่ในผืนแผ่นดินไทย และเก็บไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาถึงความเป็นมาและความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้าน นาในอดีต ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 5371 3349
ไร่แม่ฟ้าหลวง
อยู่ห่างจากพิพิฐภัณฑ์อูบคำไป อีก 1 กิโลเมตร มีอาคารสถาปัตยกรรมที่สำคัญคือ หอคำสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ภายในจัดแสดงสัตตภัณฑ์หรือเชิงเทียนบูชาไม้แกะสลักโบราณและเป็นที่ประดิษฐาน พระพราโต้ พระไม้โบราณของล้านนา และมีหอคำน้อยเป็นที่เก็บรักษาจิตรกรรมฝาผนังที่ผาติกรรมมาจากวัดป่าเวียง ต้า จังหวัดแพร่ บริเวณไร่ปลูกพรรณไม้หองและไม้หายากไว้มากมาย มีประติมากรรมเหมือนสมเด็จสำหรับจุดแสดงศิลปกรรมชั่วคราวและใช้จัดงาน
อื่น ๆบริเวณ ไร่แต่เดิมใช้จัดงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวงเพื่อถวายสักการะแก่พระศรีนครินทราบรม ราชชะนี เปิดให้เข้าชมวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-18.00 น.ค่าเข้าชม คนไทย 150 บาท ต่างชาติ 200 บาท โทร.0 5371 1968,0 5371 6605 โทรสาร 0 5371 9167
พิพิธภัณฑ์ชาวเขา
ถนนธนาลัย ดำเนินงานโดยสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนจังหวัดเชียงรายจัดแสดงและฉายสไลด์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัตถุสิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ ชุดแต่งกายประจำเผ่า รวมทั้งข้อมูลที่น่ารู้เกี่ยวกับชาวไทยภูเขา 6 เผ่า คือ อาข่า ลีซอ กะเหรี่ยง มูเซอ เย้า และม้ง เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-18.00 น. ค่าเข้าชม 50 บาท โทร. 0 5374,0 5371 9167
บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยมและบ่อน้ำร้อนผาเสริฐ
ไปทางถนนหน้าค่าย สี่แยกเด่นห้า อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 20 กิโลเมตร โดยบ่อน้ำร้อนผาเสริฐตั้งอยู่กอ่นบ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยมประมาณ 1 กม. บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยมและบ่อน้ำร้อนผาเสริฐอยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติลำ น้ำกก บ่อน้ำร้อนทั้ง 2 แห่ง นี้เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติที่เกิดจากความร้อนใต้พิภพที่มีน้ำร้อนใต้พิภพผุด ขึ้นมาตลอดเวลา เป็นน้ำพุร้อนที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก อุณหภูมิของน้ำประมาณ 67 องศาเซลเซียสและมีองค์ประกอบของแร่ธาตุอยู่ 
หลาย ชนิด บริเวณโดยรอบมีทิวทัศน์ที่สวยงามของแม่น้ำกกมีสถานที่กางเต็นท์พักแรมสำหรับ นักท่องเที่ยวที่ต้องการค้างแรม โดยบ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยมมีห้องอาบน้ำ / แช่น้ำร้อน สระอาบและสถานที่กางเต็นท์ บริหารงานโดย อบต.ดอยฮาง โทร. 0 5371 6436,0 5371 6358 www.doihang.com
น้ำพุร้อนโป่งพระบาท
เป็นน้ำพุร้อนตามธรรมชาติที่มีมานาน แล้ว และได้มีการสำรวจอย่างจริงจังโดยขอให้สำนักงานทรัพยากรธรณีวิทยาเขต 3 ( เชียงใหม่ ) กรมทรัพยากรธรณี เข้าร่วมสำรวจคุณภาพของน้ำร้อน ต้นกำเนิดของน้ำพุร้อนเดิมบริเวณที่มีอยู่เป็นป่าไม้ไมยราพและแอ่งน้ำ และจุดที่พบน้ำร้อนเป็นลักษณะแอ่งน้ำร้อน (warm pool ) ที่มีขนาดเล็กประมาณ 2-3 แอ่ง จากการสำรวจพบว่าอุณหภูมิร้อนผิวดินอยู่ระหว่าง 48-50 องศา และอุณหภูมิใต้ดินสูงประมาณ 125-156 องศา  
 อ้างอิงรูปภาพ: http://www.tourismchiangrai.com/?p=preview&id_travel=76
จาก อุณหภูมิดังกล่าวสามารถที่จะพัฒนาทำเป็นแหล่งอาบน้ำอุ่นตามธรรมชาติเพื่อ สุขภาพ ( Spa treatment ) หรือทำเป็นห้องอาบน้ำแร่ ( Balneology ) ซึ่งในประเทศจีน ญี่ปุ่น ยุโรปหรือในอเมริกา เชื่อกันว่าได้อาบน้ำหรือแช่ตัวในน้ำร้อน 
ถ้ำผาตอง 
บ้านถ้ำผาตอง ตำบลท่าสุด จากตัวเมืองเชียงรายไปตามถนนเชียงราย – แม่จัน 19 กิโลเมตรเลี้ยวขวาตรงหลักกิโลเมตรที่ 848 หน้าวัดแม่ข้าวต้มท่าสุด ไปอีก 3 กิโลเมตร นอกจากถ้ำผาตองแล้วยังมีถ้สายธาร ถ้ำแม่ครัว จุดหน้าสนใจคือ กลุ่มแกะสลักไม้กระบวยตักน้ำกะลามะพร้าว มีด้ามไม้สักแกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ ที่แสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวล้านนา โดยสล่าคำจันทร์ ยาโน 0 5378 7233 
 
อ้างอิง: http://www.tourismchiangrai.com/attraction-cr50/city.htm

เที่ยวเขาดิน

 ..เขาดิน...น่าเที่ยวจัง..
สวนสัตว์ดุสิต (เขาดินวนา)
ประวัติความเป็นมา
     สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ภายในบริเวณพระราชวังดุสิต เป็นสวนพฤกษชาติส่วนพระองค์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 8 ได้ทรงให้ทางเทศบาลกรุงเทพฯ จัดสร้างให้เป็นสวนสัตว์และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชนทุกระดับชั้น และมีการปรับปรุงพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ ตลอดมา
     เขาดินเป็นสวนสัตว์ใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ มีพื้นที่ 118 ไร่ มีสัตว์ป่าราว ๆ 2,000 ตัว ทั้งที่หายากและเกือบจะสูญพันธุ์แล้ว มีต้นไม้นานาชนิดที่ให้ความร่มรื่นและบึงน้ำขนาดใหญ่ที่สวยงาม เหมาะเป็นที่ศึกษาเรียนรู้ชีวิตสัตว์สำหรับนักเรียน นักศึกษา และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับครอบครัว นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป
ไปเที่ยวเขาดิน
     สวนสัตว์เขาดินตั้งอยู่บนถนนราชวิถีกับถนนพระราม 5 และถนนอู่ทองใน ใกล้กับพระที่นั่งอนันตสมาคม ประตูทางเข้ามี 4 ทาง จะเข้าจากทางถนนไหนก็ได้ ถ้าเอารถไป มีที่จอดด้านถนนราชวิถี เลยประตูทางเข้า บริเวณฟุตบาทจะทำเป็นช่องเว้าให้รถจอดได้ราว ๆ 20 คัน หรือเลี้ยวเข้าถนนอู่ทองใน ก็สามารถขับขึ้นไปจอดบนฟุตบาทบริเวณด้านหน้าทางเข้าอาคารจอดรถได้ 2 ที่นี้ไม่เสียค่าจอด หรือถ้าต้องการที่จอดในร่มให้เข้าทางถนนอู่ทองใน จะเข้าอาคารที่จอดรถพอดี ค่าจอดรถยนต์ 50 บาท อย่าว่าแพงเลย คิดว่าช่วยบำรุงสวนสัตว์ ซื้ออาหารเลี้ยงสัตว์ก็แล้วกันนะ..

     เราซื้อบัตรผ่านประตูและก็ขอแผนผังของเขาดินมาดู เพื่อจะได้เห็นภาพรวมทั้งหมดว่ามีอะไรอยู่ตรงไหนอย่างไร จะได้ตั้งหลักการเดินชมอย่างคร่าว ๆ ได้
ขยายภาพ
แผนผังเขาดิน( ขยายภาพ )
      .... ผู้คนเยอะอยู่เหมือนกัน ส่วนมากจะเป็นครอบครัวพาเด็ก ๆ มาเที่ยว ใครที่เป็นคุณพ่อคุณแม่มีลูกแล้ว ก็อย่าลืมหาโอกาสพาลูกของคุณมาเที่ยวเขาดินบ้างนะ เพราะมันจะเป็นความทรงจำที่ดีของเขาเมื่อเขาโตขึ้น บ้างก็เป็นคู่หนุ่มสาวเดินกระหนุงกระหนิงดูสัตว์กรงนั้นกรงนี้ บางส่วนก็เป็นกลุ่มเพื่อน ๆ มากันหลายคนดูเฮฮาดี มีนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่บ้าง เห็นรถพ่วงจอดอยู่ที่สถานีพอดี นั่งรถชมรอบ ๆ ไปแบบสบาย ๆ ก่อนดีกว่า รถจะวิ่งไปช้า ๆ มีการจอดตามจุดต่าง ๆ และมีเสียงจากเทปบรรยายประกอบให้ฟังว่าแต่ละโซนที่ผ่านมีสัตว์อะไรน่าสนใจ บ้าง

มีบริการรถพ่วงวิ่งรอบเขาดิน บรรยากาศร่มรื่น ต้นไม้เยอะ
       ร้านขายของที่ระลึก       มีเก้าอี้ให้นั่งพักผ่อนชมบรรยากาศริมน้ำ ที่เห็นไกลๆ นั่นคือภัตตาคารสวนสัตว์ดุสิต
สวนสนุกของเด็ก ๆ ร้านสะดวกซื้อก็มีสาขาที่นี่
"รับซาลาเปาเพิ่มมั๊ยคะ.."
     รถวนครบรอบได้ เห็นวิวทิวทัศน์ในเขาดินคร่าว ๆ แล้ว บรรยากาศร่มรื่น ไม่รู้สึกร้อนเท่าไร ทีนี้ก็มาเดินเอื่อย ๆ ดูสัตว์กันไปสบาย ๆ ในบางโซนต้องเสียค่าเข้าไปชมเพิ่มอีกเล็กน้อย (10-20 บาท) เช่น เวทีแสดงความสามารถของสัตว์


     หลังจากที่ได้ เดินแวะชมสัตว์ต่าง ๆ หลากหลายแล้ว บริเวณอื่น ๆ ในเขาดินจะมีบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเรือถีบที่เรียกว่า จักรยานนาวา ให้เช่า ดูน่าสนุกดี เพราะมีอาณาบริเวณกว้างขวาง มีลอดใต้สะพานไม้อยู่หลายจุด ผู้ใหญ่จะนั่งได้ 2 คน ถ้าเป็นเด็กก็จะได้ 3 คนต่อเรือ 1 ลำ หรือจะเป็นผู้ใหญ่ 1 เด็ก 2 ก็ได้ ทุกคนต้องสวมเสื้อชูชีพด้วยเพื่อความปลอดภัย เดินดูไปเรื่อย ๆ มีบริเวณส่วนที่เป็นสนามหญ้า เห็นหลายครอบครัวเอาเสื่อมากาง นั่งเล่นนอนเล่นกันก็มี

มีเรือจักรยานนาวาให้เช่า บึงน้ำกว้างใหญ่ (ลองดูจากแผนผังสิ) ล่องกันได้เพลินเชียวล่ะ
ที่นี่เราสามารถให้อาหารอีกาได้เป็นฝูง ๆ เพราะมันเชื่องมาก ไม่ค่อยกลัวคน ครอบครัวหรรษา เอาเสื่อมาปู เอาอาหารมากิน อิ่มก็นอน ได้อารมณ์ไปอีกแบบ..
โลกของเด็ก โลกของผู้ใหญ่........
     ในเขาดิน จะมีอีกจุดที่น่าเข้าไปชม นั่นคือ หลุมหลบภัยสาธารณะ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ดูจากแผนผังจะอยู่ตำแหน่งที่ 22 ฝั่งถนนพระราม 5 เป็นหนึ่งในโปรแกรม Unseen in Thailand ก็ลองแวะเยี่ยมชมกันดูได้..
   อ้างอิง: http://www.bangkokgoguide.com/dusit-zoo.php

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

เทียวทั้วล่าว

สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในประเทศลาว
หลายปีมานี้เอง ลาว กำลัง พัฒนาการท่องเที่ยวอย่าง ต่อเนื่องลาว เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อสัญจรท่อง ไปยังขุนเขา ลำน้ำ อุโมงค์ และ เมืองต่างๆที่มีภูมิทัศน์มหัศจรรย์ที่สวยสดงดงามตาที่ธรรมชาติมอบไว้ให้ ตระการไปกับภาพอดีตแห่งความรุ่งเรืองบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาต่างๆของ อาณาจักร ล้านช้าง ลาวมีสภาพไม่ต่างไปจากไทยเมื่อสมัย 30 ปีก่อน ที่มีการค้าพาณิชย์และ ความเจริญรุ่งเรืองอยู่เพียงประปรายเท่านั้นแม่น้ำโขงที่เป็นพรมแดนธรรมชาติ แบ่งสองชนชาติผ่าน ฝั่งไทย และ ลาว แต่วิถีชีวิตบนสองฟากฝั่ง แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เมืองหลวงพระบาง หรือ นครล้านช้าง เมืองแห่งมรดกโลก "หลวงพระบาง " เมืองแห่งมรดกโลก ซึ่งเคยเป็นนครหลวงและเป็น ที่ประทับของกษัตริย์ลาวมาถึงศตวรรษที่ 16 ได้รับการอนุรักษ์ ไว้เป็นอย่างดีจนได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นหนึ่งในมรดกโลก ในสมัยโบราณนั้น เมืองหลวงพระบางเคยเป็นที่ตั้งของแว่นแคว้น ต่างๆของชนเผ่าไท-ลาว ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง-แม่น้ำคาน แม่น้ำอู และแม่น้ำเชืองมาก่อนในปี ค.ศ.1353 เจ้าฟ้างุ้มได้มีการรวบรวมแผ่นดิน ก่อตั้งอาณาจักรล้านช้างขึ้นในบริเวณเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นสมัยที่เรียกว่า "เมืองชวา"เพระามีชาวชวาเข้ามาอาศัยอยู่มาก ครั้นในปี ค.ศ.1357 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมือง "เชียงทอง"
        ต่อมาไม่นานนัก พระเจ้าแผ่นดินของเขมรได้ส่งพระบางซึ่งเป็นพระพุทธรูป แบบสิงหลมาพระราชทานให้ เจ้าฟ้างุ้มจึงทรงเปลี่ยนชื่อเมือง เป็น "หลวงพระบาง" ตามชื่อพระพุทธรูปในปี ค.ศ.1545 พระเจ้าโพธิสาร โปรดให้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างมาอยู่ เวียงจันทร์แต่หลวงพระบางก็ยังคงเป็นราชธานี ที่ประทับของเจ้ามหาชีวิตอยู่ดังเดิม หลังปี ค.ศ.1694 นครล้านช้างล่มสลายลงและแตกออกเป็นสามอาณาจักร คือ ล้านช้างหลวงพระบาง ล้านช้างเวียงจันทร์ และ จำปาศักดิ์ กษัตริย์สายล้านช้างหลวงพระบางยังคงสืบทอดบัลลังก์ ต่อกันเรื่อยมาจนขบวนการประเทศลาวล้มล้าง สถาบันกษัตริย์ลงในปี ค.ศ.1975 แต่ส่วนใหญ่แล้วมักตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศไทย เวียดนาม และ ฝรั่งเศสในต่างวาระกัน

วัดเชียงทอง
      ตั้งอยู่บนถนนโพธิสารราช ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงพอดี วัดเชียงทองเป็นวัดที่สำคัญและสวยงาม ได้รับการมาเยือนชมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกมากที่สุดก็ว่าได้ นักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทอง เป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว วัดเชียงทองสร้างขึ้นก่อนหน้าที่ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจะย้ายเมืองหลวงไปยังนครเวียงจันทร์ไม่นานนัก และยังได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้ามหาชีวิตสว่างวงค์ และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายของลาว รูปแบบสถาปัตยกรรมทางศาสนา แบบหลวงพระบางแท้ คือมีหลังคาแอ่นโค้ง และลาดลงต่ำมากจนแลดูค่อนข้างเตี้ย พระโพธิสารราชเจ้า ทรงสร้างวัดเชียงทองขึ้นในปี ค.ศ. 1560 และมีฐานะเป็นวัดหลวงในพระราชูปถัมภ์เรื่อยมาจนถึงปี 1975 ติดกับพระอุโบสถมีวิหารเล็กๆหลังหนึ่งเรียกกันว่า "วิหารแดง" ภายในประดิษฐฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ที่งามแปลกตากว่าที่อื่นใดด้วยสัดส่วน จีวรที่จีบเป็นริ้วโค้งออกมาทางด้านนอกตรงเหนือช้อพระบาท และ พระหัตถ์ซึ่งรองรับพระเศียรไว้อย่างสง่างาม และอ่อนช้อย พระพุทธรูปองค์นี้เคยถูกนำไปจัดแสดงอยู่ที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1931 และ ไปประดิษฐานอยู่เวียงจันทร์หลายสิบปีก่อนกลับคืนสู่หลวงพระบางในปี ค.ศ.1964
วัดแสนสุขาราม

       ในบรรดาวัดท้งหมดวัดแสนสุขารามนั้นที่เป็นเจ้าของ พระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่
องค์เดียวในเมืองหลวงพระบาง เป็นวัดเก่าแก่ที่ถูกสร้าง ภายหลังหลวงพระบางแยกออกจากนครเวียงจันทร์เมื่อ 11 ปีที่แล้วเป็นอีกอาณาจักรหนึ่งก่อนหน้านั้นบริเวณที่สร้างวัดแสนสุขารามมี วัดเก่าอยู่ก่อนหน้านั้นสร้างขึ้นเมื่อ คริสตวรรษที่ 15 พระยืนที่สูงและใหญ่ที่สุดในหลวงพระบาง มีพระพักตร์ที่งดงามผ่องแผ้ว ข้างหอพระยืนมีหอรอยพระพุทธบาทจำลอง ส่วนพระอุโบสถดูงดงามอลังการด้วยการ
ทาสีแดงและเขียนภาพสีทองลงบนพื้นแดงภายในมีการตกแต่งประดับประดาที่มีสีสัน
สวยสดงดงามหาที่ติ พระประธานมีความงามชดช้อย

วัดใหม่สุวรรณภูมาราม
      ชาวหลวงพระบาง เรียกสั้นๆว่า วัดใหม่ ซึ่งมีอายุในต้นศตวรรษ ที่ 19 และ เคยเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระสังฆราชลาว มาก่อน อุโบสถของวัดนี้สร้างด้วยเครื่องไม้มีหลังคาซ้อนกัน ห้าชั้นตามแบบหลวงพระบาง กำแพงพระระเบียงด้านหน้า ทำเป็นลายรดน้ำปิดทองเล่าเรื่องรามายณะและพระเวสสันดรชาดก พระบางเคย ประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 และ ในวันปีใหม่จะมีการแห่แหน พระบางออกมา ให้ประชาชนได้สักการะบูชากันที่นี่ ปัจจุบันวัดใหม่ใช้เป็นโรงเรียนปริยัติธรรม

พระราชวังหลวงพระบาง
ซึ่งตั้งอยู่ทางขึ้นภูษีทางบันไดด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ใกล้กับที่ตั้งของ พระราชวัง มีถนนศรีสว่างวงค์สายเล็กๆคั่นเอาไว้นักท่องเที่ยวจึงสามารถเดินเที่ยวชม พระราชวัง ค่าเข้าชมที่นี่คนละ 10,000 กีบ ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ อันเก่าแก่ของเมืองหลวงพระบาง พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 1904 เพื่อเป็นที่ประทับของพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงค์ ลักษณะ เป็นศิลปะแบบลาวผสมฝรั่งเศส มีแผนผังเป็นรูปกากบาท และ สร้างฐานซ้อนกันหลายชั้น ห้องโถงด้านหน้าเป็นที่ประดิษฐาน พระบางซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของลาว องค์พระสูง 83 เซนติเมตร พระหัตถ์แสดงปางอภัยมุทรา หล่อขึ้นด้วยทองคำ บริสุทธิ์เกือบทั้งองค์ รวมน้ำหนักทั้งสิ้นราว 43 ถึง 54 กิโลกรัม คามตำนานเล่าว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นที่เกาะสิงหลเมื่อราวศตวรรษ ที่ 1 เจ้าฟ้างุ้ม ทรงได้รับพระราชทานจากกษัตริย์เขมรมาอีกต่อหนึ่ง แต่ก็ต้องตกไปอยู่ในเมืองสยามถึงสองครั้ง ปี 1779 และ 1827 จน ปี 1867 พระบาทสมเด็จพระจอเกล้าฯจึงทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานกลับคืน ไปให้ภายในห้องยังมีฉากลับแลผ้าไหมปักลวดลาย ด้วยฝีมือ ประณีตและงาช้างแกะสลักอีกไม่น้อยที่เหลือเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ภาพบุดคล บรรณาการจากต่างชาติ และ งานศิลปะมากมายและงานประดับกระเบื้องอยู่รอบๆตัวอาคาร และ ยังมีโรงละครภายในราชวัง ตรงข้ามหอพระบางซึ่งเย็นวันนี้จะมีการแสดง พระลักษณ์ พระราม ในเวลา 18.00 น. เป็นการแสดงของนักเรียน ซึ่งเพิ่งเริ่มเปิดการแสดงไม่นานนี้เองซึ่งใช้เวลาที่นี่ ต้องก่อน 11.00 น. เพราะพระราชววังจากปิดรับประทานอาหารเที่ยง และ นอนพัก ซึ่งที่นี่จะเปิดอีกที ก็ประมาณ 13.00 น.
วัดวิชุนราช
ซึ่งตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองหลวงพระบาง ถนน วิชุนราช ค่าเข้าชมคนละ 5,000 กีบ ในบรรดาวัดทั้งหมดของเมืองหลวงพระบางเป็นต้องยกให ้วัดวิชุน ในความแปลกที่พระธาตุเจดีย์ รูปโค้งมนเหมือนผลแตงโม และ เจดีย์รูปทรงแปลกตานี้เอง ที่กระทรวงแถลงข่าว และวัฒนธรรมของลาวยกให้มีความสำคัญ ความโดดเด่น ของวัดวิชุน แม้เพียงนั่งรถผ่านไปถนนวิชุนราชก็ จะแลเห็นเจดีย์รูปแตงโมผ่าครึ่งนี้สะดุดตา และ ภายในพระอุโบสถของวัดวิชุน ด้านหลังของพระประธานมีโบราณวัตถุที่เก็บรวบรวมมาจากวัดร้างต่างๆ ในหลวงพระบาง เช่น พระพุทธรูปสำริด ไม้จำหลัดลวดลายต่างๆ พระพุทธรูปไม้แกะสลักลงรัก ปิดทองเท่าคนจริงจำนวนมาก พระธาตุจอมษีบนยอดเขาสูงสุดของภูษี สถานที่ท่องเที่ยที่นิยมมากที่สุดที่ไม่ควรพลาด เป็นสเมือน "ถ้ามาถึงหลวงพระบาง ไม่ได้ขึ้นยอดเขาภูษีถือว่าไม่ถึง หลวงพระบาง หรือ เที่ยวเชียงใหม่ แล้วไม่ขึ้นไหว้พระธาตุดอยสุเทพ ก็มาไม่ถึงเชียงใหม่เช่นเดียวกัน" ยอดเขาภูษี เพื่อจะชมความงามของพระอาทิตย์ตกดิน ยอดเขา ภูษี เป็นยอดเขาที่มีความสูงราว 150 เมตร ตั้งอยู่ใจกลางเมือง หลวงพระบาง การได้เดินขึ้นไปบนยอดเขาภูษี 328 ขั้น ทำให้เห็นเมืองหลวงพระบาง และ เห็นสายลำแม่น้ำโขงและ แม่น้ำคานอย่างชัดเจน และ ใกล้นี้เองก็ชมพระธาตุจอมสี ตั้งอยู่บนยอดสูงของภูษี พระธาตุสามารถมองเห็นได้แต่ไกลรอบๆเมือง หลวงพระบาง ตัวพระธาตุเป็นทรงดอกบัวสี่เหลี่ยมทาสีทอง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมยอดประดับด้วยเศวตฉัตรทองสำริด 7 ชั้น สูงประมาณ 21 เมตร ช่วงที่งดงามมากที่สุด คือช่วงบ่าย แสงแดดจะสาดส่องมายังที่พระธาตุให้เห็นเป็นสีทองเหลืองอร่ามตา มีทางเดินรอบๆพระธาตุนักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดินกันที่นี่ สเมือนที่นี่เป็นจุดนัดพบของเหล่านักท่องเที่ยวนานาชาติ ที่กระหายหาความงดงามของพระอาทิตย์ยามอัสดงอย่างแน่นหนาทีเดียว

       

ตลาดม้ง
เป็นตลาดของชาวม้งที่อาศัยอยู่บริเวณรอบหลวงพระบาง เป็นชนกลุ่มน้อย กลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ และ มีบทบาทในประเทศลาวมาก ตลาดม้งเป็นตลาดที่ เป็นสินค้าจากชาวเขาเผ่าม้งของลาว เช่น ผ้าทอปักลวดลายต่างๆ เช่น ปลอกหมอน กระเป๋า ผ้าห่ม เสื้อผ้า และ เครื่องเงิน ที่มีราคาถูกและ ย่อมเยา "ถ้ำติ่ง" ซึ่งเป็นสถานที่นักท่องเที่ยวนิยมจะมาแวะเยี่ยมชม ค่าเข้าชมถ้ำ ก็คนละ 8000 กีบ หรือ 20 บาท ก็ได้ ถ้ำติ่งประกอบด้วย 2 ถ้ำแยกด้านขวาไปถ้ำติ่งลุ่ม (ล่าง) แยกซ้ายไปถ้ำติ่งเทิง (บน) ถ้ำติ่งลุ่ม หรือ ถ้ำติ่งล่างนั้น สูง 60 เมตรจากพื้นน้ำมีลักษณะเป็นโพรงถ้ำตื้นเล็กๆมีหินงอกหินย้อย แต่ไม่ค่อยสวยเท่าไรนัก เป็นถ้ำที่มีพระพุทธรูปจำนวนมากมายหลายขนาด ส่วนมากเป็นพระยืนซะส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ได้เล่าให้เราฟังว่า "สมัยโบราณเป็นที่สักการะบวงสรวงวิญญาณ ผีฟ้า ผี แถน และ เทวดาผาติ่ง ถ้ำติ่งแสดงถึงยุคแห่ง การปฏิวัติทางความเชื่อของชาวลาวในอดีตที่เคยนับถือผีพระเจ้าโพธิสารราชทรง เลื่อมใสพุทธศาสนา เป็นผู้นำพุทธศาสนาเข้ามา และ ทรงใช้ถ้ำติ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ทางพุทธศาสนา มีการค้นพบพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในคริสตวรรษที่ 18-19 กว่า 2500 องค์ ส่วนใหญ่ทำจากไม้ เมื่อตอนค้นพบใหม่ๆมีพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งที่ทำด้วยเงิน และ ทองคำ แต่ถูกลอกออกไปหมด" ส่วนถ้ำติ่งบนนั้นต้องเดินขึ้นไปบนเขาขึ้นบันไดประมาณ 200 ขั้น สองข้างทางร่มรื่นไปด้วยเงาไม้ มีห้องสุขาให้ไว้ คอยบริการสำหรับนักท่องเที่ยว สะดวกสบายมาก ถ้ำติ่งบนเป็นถ้ำไม่ค่อยลึกเท่าไร มีพระพุทธรูปอยู่มนถ้ำแต่ไม่มากเท่ากับถ้ำติ่งล่าง

นครเวียงจันทน์
พระธาตุหลวง สัญลักษณ์ของประเทศลาว เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ เรียกว่า สปป. ลาว ตั้งอยูบริเวณริมแม่น้ำโขงด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามของอำเภอ ศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายของไทย เมืองหลวงรูปพระจันทร์เสี้ยวแห่งนี้ ยังคงไว้ความสงบ เมื่อเทียบกับเมืองหลวงที่สับสนหลายแห่งในเอเซีย บรรยากาศความรุ่งโรจน์ที่เสื่อมสลายลงเรื่อยๆขับเน้นให้เสน่ห์อันเรียบง่าย ของเวียงจันทน์ แม้ลาวจะเปลี่ยนไปมากตลอด 25 ปีที่ตกอยู่ในการปกครองแบบคอมมิวนิตย์ แต่เวียงจันทน์ก็ยังรักษาจิตวิญญาณ ของเมืองโบราณอยู่ตามวิถีของมันแบบค่อยเป็นค่อยไป ช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาเวียงจันทน์มักต้องรับศึกต้อง ตกเป็น เมืองขึ้นของต่างชาติตลอดเวลา ไม่ว่าเป็นไทย เวียดนาม พม่า เขมร รวมทั้งฝรั่งเศส และ อเมริกา แต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ ไว้อย่างเหนียวแน่นทั้งด้านความศรัทธาของพุทธศาสนาซึ่งอยู่ในหัวใจของชนชาว ลาว ตลอดจนขนบะรรมเนียมประเพณีที่ดูอย่างดีงามผสมผสานอย่างเรียบง่ายคล้ายคลึง กับอีสานบ้านเรา จึงทำให้นักท่องเที่ยวไทยมีความรู้สึกอบอุ่น เหมือนอยู่เมืองไทยนี้เอง และ อีกอย่างหนึ่งเวียงจันทน์ เป็นแหล่ง จำหน่ายสินค้า ด้านหัตถกรรม ผ้าฝ้ายทอมือ รวมทั้ง เครื่องเงินที่มีราคาถูก
ให้คนไทยได้ซื้อหาเป็นของฝาก กับบ้าน นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางท่องเที่ยว เดินทางผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว สามารถท่องเที่ยว แบบ ไปเช้า- เย็นกลับ หรือ แบบ ค้างแรม 1-2 คืน โดยไม่ต้องใช้หนังสือเดินทาง เพียงแต่ทำใบผ่านแดนเท่านั้น สามารถติดต่อได้ที่ บริษัทท่องเที่ยวด้านฝั่งจังหวัด หนองคาย สะดวก สบาย อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประตูชัย พระธาตุหลวงแห่งนครเวียงจันทน์ถือว่าเป็นศาสนสถาน ที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว และ สัญลักษณ์ประจำชาติของลาว มีความหมายของประชาชนชาวลาว เป็นอย่างมาก พระธาตุหลวงสร้างเมื่อปี ค.ศ.1566 เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะอันโดดเด่นที่สุด ในอาณาจักรล้านช้าง ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชเจ้า มีเรื่องเล่ากันว่า คณะฑูตจากอินเดีย ได้มีการอัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ที่นี่ใน ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล พระธาตุหลวงได้มีการสร้างขึ้นโดยแรงศรัทธาของประชาชนชาวลาว และ สมเด็นพระเชษฐา ได้มีการตั้งชื่อ พระธาตุหลวงว่า เจดีย์โลกจุฬามุณี องค์ประกอบแต่ละส่วนเป็นสัญลักษณ์แทนภพภูมิต่างๆ โดยฐานหมายถึง กามภูมิ องค์ระฆังหมายถึงรูปภูมิ และ ส่วนยอดหมายถึง อรูปภูมิ ตามระเบียงมีประติมากรรม ระหว่างลาว กับ กัมพูชา นอกจากนั้นในช่วงของเจ้าอนุวงค์ได้มีบัญชาให้เจาะช่องหน้าต่างเล็กๆ เอาไว้บนผนังเพื่อต่อต้านข้าศึก แต่ก็มีประโยนช์น้อย จนพระธาตุหลวงถูกทำลายเสียหายไปมาก จนปี ค.ศ.1931 ฝรั่งเศสจึงได้บูรณะขึ้นใหม่โดยใช้เวลานานถึง 4 ปีเต็ม

หอพระแก้ว
อยู่บนถนนเชษฐาธิราช ติดกับทำเนียบประธานประเทศ เดิมเป็นวัดหลวงประจำราชวงค์ลาว พระเชษฐาธิราช มีประประสงค์ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2108 เพื่อใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากล้านนา และเมื่อครองบัลลังก์ล้านช้างหลังจากพระโพธิสารสิ้นพระชนม์ลงในศึกสงครามกับสยามประเทศ เมื่อปี พ.ศ.2322 นครเวียงจันทน์ถูกกองทัพสยามตีแตกพ่าย กองทัพสยามได้เอาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ของนครเวียงจันทน์ไปพร้อมกับกวาดต้อนพระราชวงค์ลาวไปยังกรุงเทพ แม้กองทัพสยามจะทำการบูรณะเท่าไร วัดนี้ก็ต้องถูกกองทัพสยามเหยียบย่ำทำลายลงอีก สำหรับหอพระแก้วปัจจุบันที่เห็นบูรณะใหม่ขึ้นมาทั้งหมด โดย การควบคุมดูแลการก่อสร้างของเจ้าสุวรรณภูมา ซึ่งจบการศึกษาด้านวิศกรรมจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศลาวหลังจากที่ประเทศลาวได้รับเอกราช

วัดสีสะเกด
ตั้งอยู่บนถนนเชษฐาธิราช ตรงข้ามกับหอพระแก้ว เจ้าอนุวงค์ทรงให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2361 เนื่องจากในสมัยนั้น ลาวตกเป็นเมืองขึ้นของกองทัพสยาม เจ้าอนุวงค์จึงออกแบบวัดตามอย่างศิลปะไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงเป็นสาเหตุที่กองทัพสยามไม่ทำลายวัดแห่งนี้ หลังบุกเข้าสู่นครเวียงจันทน์ในปี พ.ศ. 2371 วัดสีสะเกดจึงอาจนับว่า เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองเพราะวัดอื่นๆที่เหลืออยู่ ผนังด้านในของระเบียงที่รอบอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปเงิน และ ดินเผา มากกว่า 2,000 องค์ ส่วนใหญ่ เป็นพระที่สร้างที่เวียงจันทน์ในช่วงศตวรรษที่ 16 ถึง 19 ปัจจุบันวัดสีสะเกดเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ของลาว

ประตูชัย
ตั้งอยู่ทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครเวียงจันทน์ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2512 เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึก ถึงประชาชนชาวลาว ผู้เสียสละชีวิตในสงครามก่อนหน้าการปฎิวัติของพรรคคอมมิวนิตย์ ประตูชัยแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า รันเวย์แนวตั้ง เพราะการก่อสร้างประตูชัยแห่งนี้ใช้ปูนซิเมนต์ที่อเมริกาซื้อมาเพื่อนำ มาสร้างสนามบินใหม่ใน นครเวียงจันทน์ในระหว่างสงครามอินโดจีน แต่ไม่ทันสร้างเพราะอเมริกาพ่ายเวียดนามเสียก่อน จึงนำปูนเหล่านั้นมากสร้างประตูชัยแทน ตามลักษณะประคูชัยที่กรุงปารีส ประเทศ ฝรั่งเศส แต่ลักษณะสถาปัตยกรรม ก็ยังคงเป็นลักษณะของลาว วังเวียง หรือ กุ้ยหลิน แห่งเมืองลาว เป็นเมืองเล็กๆที่เงียบสงบอยู่ทางตอนเหนือของนครเวียงจันทน์ ห่างจากนครเวียงจันทน์ เพียง 160 กิโลเมตร ตามถนนหมายเลข 13 วังเวียง สวรรค์บนดิน ที่มีความสวยงามแบบอมตะ และมนต์เสน่ห์ที่ยากจะหาชมได้ในปัจจุบัน ด้วยความเงียบสงบ และ บรรยากาศ แบบ สบายๆ ที่นักท่องเที่ยวทุกมุนโลก ต่างนิยมมาท่องเที่ยว เมืองวังเวียงแห่งนี้ หรือ เปรียบได้ว่า เป็น ถนน ข้าวสาร ของเมืองลาว อีกแห่งก็ว่าซึ่งเป็นสถานที่ชุมนุม หรือ นัดหมาย ของนักท่องเที่ยว แบบ Backpacker จากทั่วทุกมุนโลกที่ต้องการท่องเที่ยวแบบผจญภัย และ แบบพักผ่อน แบบ ไม่เร่งรีบ และที่สำคัญ เมืองวังเวียงแห่งนี้ สถานที่พัก และ อาหาร ราคาถูกย่อมเยาว์ ไม่แพงอย่างที่คิด จึงไม่แปลกใจเลยว่า ที่วังเวียงเป็นแหล่งรวม นักท่องเที่ยว แบบ Backpacker วังเวียงเป็นแหล่งที่ เทือกเขาหินปูน และ เต็มไปด้วยถ้ำที่สวยงามอยู่มากมายที่จะรอนักท่องเที่ยวมายลโฉม

วังเวียง มีสถานที่ท่องเที่ยว และ กิจกรรม ที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าเป็น การล่องเรือ คายัด ตามลำน้ำแม่น้ำโสม ชมความงามของเทือกเขาหินปูน และ วิถีชีวิตของคนลาว ที่สวยงามยากจะหาชมได้ในปัจจุบัน
ถ้ำจัน
เป็นถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในวังเวียง ถ้ำนี้เคยเป็นที่กำบัง และ หลบซ่อนในการต่อต้ากบฎ จีนฮ่อในช่วงศตวรรษที่ 19 และ อีกหลายถ้ำ ที่คุณสามารถติดต่อกับ ไกค์ท้องถิ่น ตามสถานที่พัก ของท่าน จะคอยอำนวยความสะดวกให้กับคุณ เมืองปากเซ แขวง จำปาศักดิ์ เมืองปากเซ เป็นเมืองท่าเมืองหนึ่งของแขวงจำปาศักดิ์ เป็นเมืองแห่งเศรษฐกิจ และ การค้าขาย ของลาวทางเขตภาคใต้ ซึ่งมีความเจริญกว่า เมืองจำปาศักดิ์ และ มีระยะทางใกล้กับชายแดนช่องเม็ก และติดอยู่กับเขตชองจังหวัดอุบลราชธานี การเดินทางคมนาคมขนส่ง จากประเทศไทย สู่เมือง ปากเซ นั้นสะดวกอย่างง่ายดาย
เมืองปากเซ ไม่เคยเป็นถิ่นกำเนิดของอารยธรรมโบราณเหมือนสุวรรณเขต และ หลวงพระบาง ฝรั่งเศสได้มีการก่อตั้งเมือง แห่งนี้ขึ้นในปี 1905 เพื่อทานอำนาจของจำปาศักดิ์ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ย้อนไปถึงยุคก่อนการเข้ามาตั้งรกราก ของพวกเขมร ปากเซตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบของแม่น้ำโดนกับแม่น้ำโขง และ มีพื้นที่เพียงครึ่งหนึ่งของสุวรรณเขต เท่านั้น ปากเซมีประชากรอยู่ราว 100,000 คน เศษ แต่มีความหลากหลายทางอุปนิสัยและชาติพันธุ์อย่างยิ่ง นอกจากนั้นยังมีชาวเวียดนาม และ ชาวจีน เข้ามาตั้งอาศัยรกรากอยู่อีกไม่น้อยบรรยากาศโดยทั่วไปค่อนข้างผ่อน คลาย ไม่เข้มงวดอะไรนัก การโดยสารรถจากสุวรรณเขตมายังปากเซใช้เวลาราวเจ็ดชั่วโมง และ ยิ่งเข้าเขตทางใต้ ลึกเข้ามาใด ถนนก็ยิ่งแย่ลงเท่านั้น แต่ทางการก็เร่งปรับปรุงเส้นทางอยู่แผนผังเมืองปากเซเป็นตารางสี่เหลี่ยมตัด กัน
จึงไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องทิศทาง
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในปากเซ
ศาลเจ้าสุขศรี
ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งเหนือของแม่น้ำโดนช่วงที่ไหลมารวมเข้ากับแม่น้ำโขงพอดี ศาลเจ้าแห่งนี้มีบรรยากาศสงบ และธรรมชาติ งดงาม สร้างขึ้น เมืองจำปาศักดิ์ แขวง จำปาศักดิ์ เมืองแห่งมรดกโลก เมืองจำปาศักดิ์ มีวัดโบราณ น้ำตกแสนสวย หมู่บ้านชนกลุ่มน้อย และ ภูมิทัศน์อันสวยสดงดงามที่สุดของ ภาคใต้ของลาว ทางภาคใต้มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย และ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกันนัก ผู้มาเยือนที่สนใจด้านประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรม และ เป็นเมืองแห่งมรดกโลก
    
จำปาศักดิ์
เป็นเมืองที่สร้างก่อนเมืองปากเซ และมีความสำคัญในการค้าขาย ของเส้นทางอารยขอม จำปาศักดิ์ มีฐานะ เป็นศูนย์กลางการปกครองของแขวงและเป็นที่ประทับของพระราชวงค์ในสมัยที่ยังมีเอกราช แต่อดีตอันรุ่งเรือง กลับเหลือเพียงแต่ตำหนักยุคล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส เพียงสองหลังทางทิศใต้เท่านั้น บนถนนลาดยางสายเดียว ในเมืองจำปาศักดิ์
จำปาศักดิ์มีถนนที่ร่มรื่นไปด้วยทิวไม้ที่น่าเดินเที่ยวเล่นหลายสาย และ สามารถปั่นจักรยานโดยรอบเมืองได้อย่างง่ายดาย ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองจำปาศักดิ์ อยู่แบบ เรียบๆง่าย เหมือน เป็นหมู่บ้านเล็กๆเท่านั้น ไม่น่าเชื่อเลยว่า จะเป็นเมืองจำปาศักดิ์ ที่เคยรุ่งโรนจ์ในอดีต มีชาวบ้านอยู่ในเมืองจำปาศักดิ์ไม่กี่พันคนเท่านั้น สถานที่ท่องเที่ยวของจำปาศักดิ์
วัดทุ่ง
ตั้งอยู่บนถนนลูกรังทางทิศตะวันตกของคุ้มหลวงนั้น เดิมเป็นวัดประจำราชวงค์และเป็นที่ฝังพระศพ ของเจ้านายหลายองค์ จึงยังมีบรรยากาศแบบโบราณที่มักเลือนหายไปกับกาลเวลาเหลืออยู่ แม้ความรุ่งโรจน์ จะลาลับไปแล้ว แต่จำปาศักดิ์ก็มีสภาพแวดล้อมที่น่าชื่นชม โรงแรมศาลาวัดภูนั้นเป็นอาคารชุดอาณานิคมที่ มีการช่อมแชมขึ้นมาใหม่ มีห้องพักที่สะดวกสบายเปิดให้บริการ ปราสาทวัดภูกับปราสาทอุ้มเมือง โบราณสถานที่ได้ให้เป็นมรดกโลกแหล่งที่สองของประเทศลาว รองจาก เมืองหลวงพระบาง
ปราสาทวัดภ
เคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของแหล่งอารยธรรมโบราณต่างๆถึง สามสมัยด้วยกันคือ สมัยอาณาจักรเจนละในช่วงศตวรรษที่6-8 ต่อมาพวกเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร ได้สร้างปราสาทหินขึ้นที่นี่ในราวศตวรรษที่ 9 สุดท้าย อาณาจักรล้านช้างก็ได้เปลี่ยนเทวาลัยในศาสนาฮินดูแห่งนี้ให้เป็นวัดในพุทธศาสนาสายเถรวาท
ข้อมูลการเดินทาง
การเดินทางไปยังประเทศลาว โดยเครื่องบิน ปัจจุบันมีเครื่องบินโดยสาร จาก ประเทศไทย สู่ ประเทศลาว มีดังต่อไปนี้ เส้นทาง กรุงเทพ-เวียงจันทร์ โดยสายการบิน สายการบินไทย โทร 02-545-1000
สายการบินลาว โทร 02-236-9822-3
เส้นทาง กรุงเทพ-หลวงพระบาง โดยสายการบิน
สายการบิน บางกอกแอร์เวย์ โทร 02-265-5555
สายการบิน ลาว โทร 02-236-9822-3
เส้นทาง เชียงใหม่-หลวงพระบาง โดยสายการบิน
สายการบินไทย โทร 02-545-1000
โดยรถโดยสารปรับอากาศ
เส้นทางเดินทางจาก กรุงเทพ สู่ เวียงจันทร์ ประเทศ ลาว
เดินทางจากรุงเทพ สู่ จังหวัด หนองคาย โดยรถโดยสารปรับอากาศ จาก สถานนีขนส่งหมอชิต ทุกวัน
บริษัท ขนส่งจำกัด
บริษัท เชิดชัย ทัวร์
บริษัท บารมี ทัวร์
บริษัท 407 พัฒนา
บริษัท รุ่งประเสิรฐทัวร์ 24 ที่นั่ง
โดยรถไฟ
มีรถไฟจาก กรุงเทพ สู่ หนองคายทุกวัน ติดต่อได้ที่ สถานนีรถไฟหัวลำโพง

จากหนองคาย มีรถโดยสารประจำทาง ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ทุกวัน ออกทุก 10 นาท คนละ 10 บาทคุณสามารถเรียกรถสามล้อ จากสถานนีรถไฟ หรือ สถานนีรถขนส่ง คนละ 30 บาท เพียงแต่บอกว่าไปที่ท่ารถข้ามสะพานอย่าลืมต้องมีใบผ่านแดน หรือ วีซ่าให้เรียบร้อย
เส้นทาง กรุงเทพ-เชียงของ-ท่าทราย-หลวงพระบาง ขอบอกว่าเส้นทางนี้หฤโหดมาก เดินทางจากรุงเทพ สู่ จังหวัด เชียงราย อำเภอเชียงของ โดย รถโดยสารปรับอากาศ จาก สถานนีหมอชิต ทุกวันบริษัท สยามเฟริสท์ ทัวร์ โทร 02-936-2953 หรือ 02-954-3601-7
ห้วยทราย-หลวงพระบาง
ด่านอำเภอเชียงของ จังหวัด เชียงราย อยู่ฝั่งตรงข้ามคือ ด่านห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว อยู่ท่าเรือบั๊ค ด่านตรวจ
คนเข้าเมืองลาวที่ห้วยทรายสามารถขอวีซ่าแบบเร่งด่วน เดินทางเข้าประเทศลาวได่ โดยเสียค่าธรรมเนียมคนละ 30 US$ ในกรณีที่ไม่ได้ขอวีซ่ามาจากกรุงเทพ หรือ ทำใบผ่านแดนชั่วคราวก็ได้โดยเสียค่าธรรมเนียมทางฝั่งด่านตรวจ คนเข้าเมืองไทยคนละ 35 บาท และ ด่านตรวจคนเข้าเมืองลาว ที่เมืองห้วยทราย อีกคนละ 90 บาท สามารถอยู่ ห้วยทรายได้ 3 วัน 2 คืน จากเมืองห้วยทรายสามารถเดินทางไปยังเมืองหลวงพระบางได้โดยทางรถยนต์ แต่สภาพถนนไม่ค่อยดี ระยะทางประมาณ 473 กิโลเมตร อาจต้องใช้เวลาในการเดินทางหลายวัน เหมาะสำหรับ นักท่องเที่ยวแบบ ประเภทแบกเป้ ไม่คำนึงถึงเรืองเวลาซึ่งเหมาะที่จะแวะเที่ยวตามเมืองต่างๆที่เดินทาง ผ่านอย่าง เช่นเมืองภูคา อุดมไชย ปากมอง หลังจากนั้นก็สิ้นสุดที่หลวงพระบาง หรือ หลวงน้ำทา และ เดินทางต่อไปยังเมือง เชียงรุ้ง ประเทศจีนได้เช่นเดียวกัน
เมื่อถึงอำเภอเชียงของ สามารถติดต่อได้ที่ บริษัท ล้านช้าง Easy Trip โทร 09-6355999,06-9100629,09-9222030 หรือแฟ็กซ์ 053-655174 หรือที่เว็บไซต์ www.discoverylaos.com เพื่อติดต่อ เรือเดินทางจากห้วยทราย ไปยัง หลวงพระบาง
โดยทางเรือเร็ว ซึ่งทราบว่าเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนอนค้างคืน (เส้นทางหฤโหดมาก )ลักษณะเป็นเรือหางยาวท้องแบน บรรทุกได้ 7-8 คน สำหรับการเดินทางด้วยเรือเร็วอาจจะเป็นอันตรายต่อแก้วหู ดวรเตรียมอุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง และ อุปกรณ์การช่วยหายใจ และ เบาะรองที่นั่ง
โดย เรือช้า ต้องนอนค้างคืนที่ ปากเบ็ง (เหมาะสำหรับคนไทย และนักท่องเที่ยวแบบแบกเป้มากที่สุด)มีที่พักราคาถูกที่ปากเม็งคอยบริการนัก ท่องเที่ยวใข้เวลาเดินทาง 2 วัน 1 คืน
เส้นทาง กรุงเทพ-นครพนม-ท่าแขก แขวง คำม่วนต่อไป เมือง วินห์ ประเทศ เวียดนาม
เส้นทาง กรุงเทพ-มุกดาหาร-สะหวันนะเขต
เส้นทาง กรุงเทพ-อุบลราชธานี-ช่องเม็ก-ปากเซ
สถานที่พัก โรงแรม เก็ตเฮาส์
อ้างอิง:   http://www.tourismchiangrai.com/cr/tour_lao.php

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

ที่ท่องเที่ยว เชียงราย

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง
     
อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช
อยู่ที่ห้าแยกพ่อขุ่น พ่อขุ่นเม็งรายเป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งราชวงค์ลัวะจังคราช เป็นโอรสของพญาลาวเม็ง และพระนางเทพคำขยาย หรือพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน พุทธศักราช 1782 เสด็จสวรรคตที่เมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ.1854 พ่อขุนเม็งรายได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นบนดอยทอง จากรากฐานเดิมที่เคยเป็นเมืองมาก่อน เมื่อ พ.ศ.1805ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงค์เม็งราย และรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าเป็นอาณาจักรล้านนาไทยจนเจริญรุ่งเรืองถึง ปัจจุบัน
กู่พระเจ้าเม็งราย
ตั้งอยู่หน้าวัดงำเมือง บนดอยงำเมือง กู่นี้เป็นอนุสาวรีย์สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุอัฐิของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ตามประวัติกล่าวว่าพระเจ้าไชยสงคราม ราชโอรสพระเจ้าเม็งรายเมื่อได้มอบราชสมบัติให้พระเจ้าแสนภูราชโอรสขึ้นครอง นครเชียงใหม่แล้ว พระองค์ได้นำอัฐิพระราชบิดามาประทับอยู่ที่เมืองเชียงราย และได้โปรดเกล้าฯ สร้างกู่บรรจุอัฐิของพระราชบิดาไว้ ณ ดอยงำเมืองแห่งนี้
วัดพระสิงห์
ถนนท่าหลวง ใกล้ศาลากลางจังหวัด เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์องค์ที่ประดิษฐาน ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน ตามประวัติเล่าว่า เจ้ามหาพรหมพระอนุชาของพระเจ้ากือนา กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองกำแพงเพชร พระเจ้ากือนาได้โปรดฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ เมืองเชียงใหม่ ต่อมาพระเจ้ามหาพรหมทูลขอยืมพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงราย เพื่อหล่อจำลอง แต่เมื่อสิ้นบุญพระเจ้ากือนาและพระเจ้าแสนเมืองราชนัดดาของพระองค์ได้เสด็จ ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ เจ้ามหาพรหมคิดจะชิงราชสมบัติ จึงยกกองทัพจากพรหมมาถึงเชียงราย และครั้งนี้เองที่ทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์คืนกลับไปประดิษฐานอยู่ที่วัดพระ สิงห์เชียงใหม่สืบมา วัดพระสิงห์แห่งนี้ยังมีรอยพระพุทธบาทจำลองบนแผ่นสิลาสันนิษฐานว่าสร้างใน สมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช นอกจากนั้นบานประตูยังออกแบบโดย คุณถวัลย์ ดัชนี บอกเรื่องราวเกี่ยวกับ ดิน น้ำ ลม ไฟ แกะสลักโดยฝีมือช่างช่าวเชียงราย โทร. 0 5374 5038
วัดพระแก้ว 
วัดพระแก้วเดิมเป็นวัดโบราณมีชื่อเรียกมาแต่เดิมว่า รุกขวนาราม แปลว่า วัดป่าไม้เยียะ หรือ ไม้ญะ หมายถึงป่าไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง ที่ด้านหลังพระอุโบสถมีพระเจดีย์เก่าองค์หนึ่ง ราวพุทธศักราช 1977 เกิดอสนีบาตตกลงมาที่พระเจดีย์พังทลายลง ได้พบพระพุทธรูปปูนปั้นอยู่ภายในจึงนำไปไว้หน้าพระประธานในพระวิหารอยู่มา วันหนึ่งโยมวัดเข้าไปทำความสะอาด ผิวปูนกะเทาะออกเห็นเนื้อแก้วสีเขียวอยู่ภายในจึงนำความแจ้งแก่พระสงฆ์
เจ้า อาวาสจึงให้กะเทาะปูนออกจนหมด พบว่าเป็นพระพุทธรูปล้ำค่า จึงนำความแจ้งแก่มหาราชเมืองเชียงใหม่พระเจ้าสามฝั่งแกน ผู้ครองนครเชียงใหม่ โปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ เมืองเชียงใหม่ แต่เมื่ออธิษฐานเสี่ยงทายได้ชื่อเมืองนครลำปางถึง 3 ครั้ง พระแก้วมรกตจึงได้รับการอัญเชิญไป นครลำปาง จนถึงพุทธศักราช 2011 จึงอัญเชิญไปนครเชียงใหม่ก่อนจะไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ และกลับมาประดิษฐาน ณ กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ เจดีย์ที่พบพระแก้วและวัดพระแก้วที่เชียงรายยังอยู่สืบมาจนทุกวันนี้
วัดพระธาตุดอยทอง
วัดพระธาตุดอยทอง ตั้งอยู่ถนนอาจอำนวย หลังศาลากลางจังหวัด บนดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกก ในปี พ.ศ.1805 พญาเม็งรายได้ทรงสร้างเมืองเชียงราย โดยก่อปราการโอบดอย ตามตำนานเล่าว่าเป็นพระธาตุเก่าแก่ที่มีก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะทรงสร้าง เมืองเชียงราย โดยเล่าว่าพระยาเรือนแก้วผู้ครองนครไชยนารายณ์ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1483 สันนิษฐานว่า เมื่อพ่อขุนเม็งรายทรงพบชัยภูมิที่สร้างเมืองเชียงรายจากดอยจอมทองนั้น คงจะมีการบูรณะองค์พระธาตุใหม่พร้อมๆ กับการสร้างเมืองเชียงราย นอกจากนั้นตรงข้ามพระธาตุดอยทอง เป็นที่ตั้งของเสาสะดือเมือง 108 หลัก ซึ่งสร้างตามคติโบราณล้านนา คือจะใหญ่เท่าห้ากำมือ และสูงเท่าความสูงของพระเจ้าแผ่นดิน เสาสะดือเมืองเรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายวง แทนสมมติจักรวาล อันมีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง ล้อมรอบด้วยน้ำห้าร่องแทนปัญจมหานที
ขั้น บนสุดเปรียบได้กับนิพพาน เสาสะดือเมืองชาวเชียงรายได้ร่วมใจสร้างขึ้นเมื่องปี พ.ศ.1531 เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญาเม็งราย และได้มีการบูรณะในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบห้ารอบของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว
วัดร่องขุ่น
วัดร่องขุ่น อยู่ที่บ้านร่องขุ่นกม.ที่ 817-818 ทางขวามือ ก่อนจะถึงตัวเมือง ๑๒ กม. โดยมีอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรชั้นแนวหน้าของประเทศไทย เป็นผู้ออกแบบทั้งหมด โดยได้ทรัพย์สินส่วนตัว ของตัวอาจารย์เฉลิมชัยเอง บวกกับพื้นที่บริจาคประมาณ 7 ไร่เศษ ของคุณวันชัย วิชญชาคร และเงินบริจาค ของผู้ที่มีจิตศรัทธาลักษณะเด่นของวัดคือพระอุโบสถที่ประดับตกแต่งด้วยสีขาวเป็นพื้น ประดับด้วยกระจกบนปูนปั้นเป็น
ลายไทยโดยเฉพาะเหนืออุโบสถที่ประดับด้วยสัตว์ในเทพนิยาย เป็นรูปกึ่งช้างกึ่งวิหคเชิดงวงชูงา ดูงดงามแปลกตาน่าสนใจมาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถก็เป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ
ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมือง เชียงรายประมาณ 8 กิโลเมตรบนเส้นทางเชียงราย – แม่จัน เข้าไปทางด้านหลังมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ภายในสวนมีทัศน์ภาพสวยบรรยากาศร่มรื่น มีหนองบัวกว้างถึง 233 ไร่ เป็นสถานที่น่าพักผ่อนหย่อนใจ เพราะน้ำในหนองบัวใสเย็นและเต็มเปี่ยมตลอดปี บนพื้นที่รอบหนองบัวเป็นที่ต้องของพลับพลา ศาลาสำหรับนั่งผ่อนและมีสวนปาล์ม สวนไผ่อยู่บนที่ลาดเนินเขาติดกับสวนสมเด็จฯ ยังเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกของมหาวิทยา ลัยราชภัฎเชียงราย ซึ่งให้บริการดูแลรักษาสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านล้านนา โทร. 0 5370 3388
ศูนย์ภาษาวัฒนธรรมจีนสิรินธร
ภายในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนและมหาวิทยาลัยแม่ ฟ้าหลวง เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 100 ปี แห่งวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็นเป็นเครื่องหมายแห่ง มิตรภาพระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ศูนย์ฯ เป็นศูนย์กลางการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยและในภูมิภาครวมทั้ง เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม
ระหว่างประเทศ จีน – ไทย ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบจีนแท้มีสวนน้ำ ตรงกลางแบบซูโจว ออกแบบโดยสถาปนิกชาวจีนจากมณฑลเสฉวนวัสดุกระเบื้องหลังคา รูปปั้นประดับหลังคา สิงโตแกะสลักด้วยหินอ่อนเฝ้าหน้าศูนย์ นำมาจากประเทศจีนทั้งสิ้น ภายใจอาคารจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยือนประเทศจีนและมีห้องสมุดให้ค้นคว้า อัตราค่าเข้าชม 10 บาท โทร. 0 5391 7093,0 5391 7095 www.mfu.ac.th
น้ำตกขุนกรณ์
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 34 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีธารน้ำที่ใสสะอาดไหลตลอดปีโดยที่ปราศจากตะกอนหินปูน มีความสูงกว่า 70 เมตร เส้นทางเดินขึ้นสู่น้ำตกขุนกรณ์มีโขดหินและแก่งต่างๆ ซึ่งมีความสวยงามรายรอบไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด สภาพป่าโดยรอบมีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะสำหรับการพักหย่อนใจ
กิจกรรม - เที่ยวน้ำตก
ล่องเรือแม่น้ำกก
ล่องแก่งแม่กก ท่าตอน-เชียงราย
ท่าตอนเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำกก เหนือขึ้นไปจากอำเภอฝาง 24 กิโลเมตร จากเชียงใหม่มีรถประจำทางออกจากประตูช้างเผือกไปลงที่ฝางใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง แล้วจะมีรถสองแถววิ่งประจำระหว่างฝางกับท่าตอน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที มีเรือหางยาวบริการถึงเชียงราย ออกจากท่าตอนเวลา 12.30 น. ถึงเชียงราย
 
16.30 น. และจากเชียงรายเวลา 10.30 น. ถึงท่าตอน 15.30 น. ระยะทาง 80 กิโลเมตร ค่าโดยสารคนละ 200 บาท ถ้าหากต้องการเช่าเรือเหมาลำ ลำละ 1,600 บาท สามารถนั่งได้ 8 คน สำหรับผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานชมรมเรือบ้านท่าตอน โทร. 0 5345 9427
พิพิธภัณฑ์อูบคำ
พิพิธภัณฑ์อูบคำ ตั้งอยู่เลขที่ 81/1 ถนนหน้าค่าย ตำบลรอบเวียง ติดกับตลาดสดเด่นห้า เป็นศูนย์อนุรักษ์มรดกล้ำค่าของอาณาจักรล้านนาโบราณ ประกอบด้วยเครื่องใช้ในราชสำนักล้านนา เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าแพร่ เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าเชียงใหม่ ผ้าโบราณอายุ 120 ปี เป็นซิ่นไหมคำจากราชสำนักมัณฑเลย์ และที่สำคัญไม่ควรพลาดชมคือ บัลลังก์กษัตริย์เป็นทองอร่าม อายุกว่า 200 ปี แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต โดยมีอาจารย์จุลศักดิ์ สุริยไชย เป็นผู้รวบรวม ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น.
ค่า เช้าชมผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท พิพิธภัณฑ์นี้เป็นความตั้งใจของผู้รวบรวมที่จะเก็บของมีค่าสมัยล้านนาที่ไม่ ได้อยู่ในแผ่นดินไทยให้กลับมาอยู่ในผืนแผ่นดินไทย และเก็บไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาถึงความเป็นมาและความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้าน นาในอดีต ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 5371 3349
ไร่แม่ฟ้าหลวง
อยู่ห่างจากพิพิฐภัณฑ์อูบคำไป อีก 1 กิโลเมตร มีอาคารสถาปัตยกรรมที่สำคัญคือ หอคำสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ภายในจัดแสดงสัตตภัณฑ์หรือเชิงเทียนบูชาไม้แกะสลักโบราณและเป็นที่ประดิษฐาน พระพราโต้ พระไม้โบราณของล้านนา และมีหอคำน้อยเป็นที่เก็บรักษาจิตรกรรมฝาผนังที่ผาติกรรมมาจากวัดป่าเวียง ต้า จังหวัดแพร่ บริเวณไร่ปลูกพรรณไม้หองและไม้หายากไว้มากมาย มีประติมากรรมเหมือนสมเด็จสำหรับจุดแสดงศิลปกรรมชั่วคราวและใช้จัดงาน
อื่น ๆบริเวณไร่แต่เดิมใช้จัดงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวงเพื่อถวายสักการะแก่พระศรีนครินทราบรมราชชะนี เปิดให้เข้าชมวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-18.00 น.ค่าเข้าชม คนไทย 150 บาท ต่างชาติ 200 บาท โทร.0 5371 1968,0 5371 6605 โทรสาร 0 5371 9167
พิพิธภัณฑ์ชาวเขา
ถนนธนาลัย ดำเนินงานโดยสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนจังหวัดเชียงรายจัดแสดงและฉายสไลด์วิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัตถุสิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ ชุดแต่งกายประจำเผ่า รวมทั้งข้อมูลที่น่ารู้เกี่ยวกับชาวไทยภูเขา 6 เผ่า คือ อาข่า ลีซอ กะเหรี่ยง มูเซอ เย้า และม้ง เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-18.00 น. ค่าเข้าชม 50 บาท โทร. 0 5374,0 5371 9167
บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยมและบ่อน้ำร้อนผาเสริฐ
ไปทางถนนหน้าค่าย สี่แยกเด่นห้า อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 20 กิโลเมตร โดยบ่อน้ำร้อนผาเสริฐตั้งอยู่กอ่นบ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยมประมาณ 1 กม. บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยมและบ่อน้ำร้อนผาเสริฐอยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติลำ น้ำกก บ่อน้ำร้อนทั้ง 2 แห่ง นี้เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติที่เกิดจากความร้อนใต้พิภพที่มีน้ำร้อนใต้พิภพผุด ขึ้นมาตลอดเวลา เป็นน้ำพุร้อนที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก อุณหภูมิของน้ำประมาณ 67 องศาเซลเซียสและมีองค์ประกอบของแร่ธาตุอยู่ 
หลายชนิด บริเวณโดยรอบมีทิวทัศน์ที่สวยงามของแม่น้ำกกมีสถานที่กางเต็นท์พักแรมสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการค้างแรม โดยบ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยมมีห้องอาบน้ำ / แช่น้ำร้อน สระอาบและสถานที่กางเต็นท์ บริหารงานโดย อบต.ดอยฮาง โทร. 0 5371 6436,0 5371 6358 www.doihang.com
น้ำพุร้อนโป่งพระบาท
เป็นน้ำพุร้อนตามธรรมชาติที่มีมานานแล้ว และได้มีการสำรวจอย่างจริงจังโดยขอให้สำนักงานทรัพยากรธรณีวิทยาเขต 3 ( เชียงใหม่ ) กรมทรัพยากรธรณี เข้าร่วมสำรวจคุณภาพของน้ำร้อน ต้นกำเนิดของน้ำพุร้อนเดิมบริเวณที่มีอยู่เป็นป่าไม้ไมยราพและแอ่งน้ำ และจุดที่พบน้ำร้อนเป็นลักษณะแอ่งน้ำร้อน (warm pool ) ที่มีขนาดเล็กประมาณ 2-3 แอ่ง จากการสำรวจพบว่าอุณหภูมิร้อนผิวดินอยู่ระหว่าง 48-50 องศา และอุณหภูมิใต้ดินสูงประมาณ 125-156 องศา  
 อ้างอิงรูปภาพ: http://www.tourismchiangrai.com/?p=preview&id_travel=76
จากอุณหภูมิดังกล่าวสามารถที่จะพัฒนาทำเป็นแหล่งอาบน้ำอุ่นตามธรรมชาติเพื่อสุขภาพ ( Spa treatment ) หรือทำเป็นห้องอาบน้ำแร่ ( Balneology ) ซึ่งในประเทศจีน ญี่ปุ่น ยุโรปหรือในอเมริกา เชื่อกันว่าได้อาบน้ำหรือแช่ตัวในน้ำร้อน 
ถ้ำผาตอง 
บ้านถ้ำผาตอง ตำบลท่าสุด จากตัวเมืองเชียงรายไปตามถนนเชียงราย – แม่จัน 19 กิโลเมตรเลี้ยวขวาตรงหลักกิโลเมตรที่ 848 หน้าวัดแม่ข้าวต้มท่าสุด ไปอีก 3 กิโลเมตร นอกจากถ้ำผาตองแล้วยังมีถ้สายธาร ถ้ำแม่ครัว จุดหน้าสนใจคือ กลุ่มแกะสลักไม้กระบวยตักน้ำกะลามะพร้าว มีด้ามไม้สักแกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ ที่แสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวล้านนา โดยสล่าคำจันทร์ ยาโน 0 5378 7233 
 
อ้างอิง: http://www.tourismchiangrai.com/attraction-cr50/city.htm